ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: ซ่อมแอร์รั่ว ขั้นตอนการตรวจเช็คหารอยรั่วแผงคอยล์ร้อน  (อ่าน 71 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 495
    • ดูรายละเอียด
ซ่อมบำรุงอาคาร: ซ่อมแอร์รั่ว ขั้นตอนการตรวจเช็คหารอยรั่วแผงคอยล์ร้อน

แอร์ไม่เย็นแอร์มีแต่ลมคือหนึ่งในปัญหาแอร์รั่วซึม ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเจอบ่อยของเครื่องปรับอากาศ หลายสาเหตุหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดการรั่วซึมของระบบเครื่องปรับอากาศทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง เนื่องจากสารทำความเย็นในระบบรั่วซึมออกจากระบบนั่นเองหรือที่เรียกกันว่า แอร์รั่ว ต่อไปเป็นวิธีการและขั้นตอนการตรวจเช็คหารอยรั่วระบบเครื่องปรับอากาศและ ซ่อมแอร์รั่ว การจัดเตรียมอุปกรณ์การใช้งานอุปกรณ์อย่างถูกวิธี โดยใช้ก๊าซไนโตรเจนเป็นตัวอัดแรงดันเข้าระบบเครื่องปรับอากาศเพื่อตรวจสอบหาจุดรั่วซึมอย่างมีประสิทธิภาพ

จัดเตรียมเตรียมอุปกรณ์

    เกจเรคคูเลเตอร์ ไนโตรเจน
    เกจปล่อยและวัดแรงดัน
    ถังก๊าซไนโตรเจน
    สายเกจวัดทนแรงดันสูง
    ประแจเลื่อน
    ชุดประแจหกเหลี่ยม
    วาล์วขันไส้ศร
    ชุดไขควง
    คัตเตอร์ตัดท่อทองแดง
    ฝาสำหรับปิดวาลว์เซอร์วิส


ขั้นตอนการตรวจเช็ค

ทำการประกอบ เกจเรคคูเลเตอร์ เข้ากับถังก๊าซไนโตรเจน เกจเรคคูเลเตอร์ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแรงดันก๊าซไนโตรเจนที่จะทำการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกมาใช้งาน และวัดบริมาณก๊าซไนโตรเจนที่อยู่ภายในถัง

ทำการประกอบเกจปล่อยและวัดแรงดันภายในระบบ เชื่อมต่อกับเกจเรคคูเลเตอร์ โดยใช้สายทนแรงดันสูงเป็นตัวเชื่อมต่อ โดยเกจปล่อยและวัดแรงดันจะทำหน้าที่ปล่อยแรงดันก็าซไนโตรเจน เข้าระบบเครื่องปรับอากาศและวัดปริมาณแรงดันที่สูญเสียหรือหายไปจากระบบ ซึ่งจะเป็นตัวบอกเราว่าระบบแอร์รั่วหรือไม่รั่วนั่นเอง

เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็คหาจุดรั่วซึมและการทำงานที่ง่ายขึ้นทำการถอดฝาครอบ คอนเด็นเซอร์ (Condenser) ออก

ทำการขันไส้ศรวาวล์เซอร์วิสออก เนื่องจากจะต้องทำการต่อสายแรงดันสูงเข้า เซอร์วิสวาล์ว (service valves) เพื่อปล่อยก๊าซไนโตรเจนเข้าระบบเครื่องปรับอากาศ

ทำการปิดฝา เซอร์วิสวาล์ว (service valves) ทั้งสองด้าน  ทั้งทางด้าน Low Side และทางด้าน High Side เพื่อป้องการการไหลออกของก๊าซไนโตรเจนออกจากเซอร์วิสวาล์ว เนื่องจากเราทำการเช็ครั่วเฉพาะแผงฝั่ง คอนเด็นเซอร์ (Condenser)


ทำการต่อสายเกจวัดแรงดันเข้าระบบเครื่องปรับอากาศ

    ทำการปิดวาวล์ถังไนโตรเจน
    ปรับเกจเรคคูเลเตอร์ เพื่อควบคุมแรงดันไนโตรเจนที่จะนำออกมาใช้งาน

โดยแรงดันของก๊าซไนโตรเจนที่จะนำมาใช้งานเช็ครั่วระบบเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ 350-400 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ( PSI )

ค่อยๆปล่อยแรงดันไนโตรเจนเข้าระบบเครื่องปรับอากาศโดยปรับจากเกจวัดแรงดัน ขั้นตอนนี้ต้องค่อยๆปล่อยแรงดันเข้าระบบทีละนิดนะครับ

ค่อยๆปล่อยแรงดันเข้าระบบจนครบ 400 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ( PSI ) ต้องมั่นใจด้วยว่าจุดเชื่อมต่อสายวัดแรงดันทุกจุดไม่มีการรั่วซึม จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 10 – 15 นาที และสังเกตุมาตรวัดแรงดันจากเกจวัดแรงดัน

ให้ดูจากเกจวัดแรงดัน หากมาตรวัดแรงดันตกจากที่เติมแรงดันเข้าระบบไป 400 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ( PSI ) ลดลงนั่นแปลว่าระบบเครื่องปรับอากาศมีการรั่วซึม ต่อไปให้ทำการหาจุดรั่วของระบบครับ

เมื่อทำการตรวจเช็คพบจุดรั่วซึม ทำการเชื่อมจุดรั่วนั้น และทำการตรวจเช็คระบบโดยการอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าระบบอีกครั้ง หากเกจวัดแรงดันคงที่ไม่มีการรั่วซึมของระบบอีกก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการซ่อมแอร์รั่วครับ

xaphus

  • บุคคลทั่วไป

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google